วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กว่าจะมาเป็นวิศวกรโยธา



มิได้เคยมีใครบอกพวกเราเลยว่า
เราเกิดมา เพื่อไขว่คว้าหาประโยชน์ใส่ตน
ในยามเมื่อเรามีโอกาสเหนือผู้อื่น
มีใครเคยคิดบ้างไหมว่า
เราเกิดมา เพื่อทำประโยชน์ให้กับสังคม
มิใช่รับจากสังคม แต่ฝ่ายเดียว
เราเคยตระหนักกันบ้างไหมว่า
เราคือ ผู้สร้าง ผู้รักษา
เราคือ"วิศวกร"


อาชีพวิศวกร

เมื่อ เอ่ยถึงอาชีพวิศวกรหลายคนคงนึกภาพไปถึงวิศวกรควบคุมงานก่อสร้างตึกระฟ้าสูง วิศวกรควบคุมการก่อสร้างสะพานและถนน หรืออาจจะนึกไปถึงนายช่างใหญ่ดูแลและควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน แต่ในปัจจุบันงานทางวิศวกรรมเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับแทบจะทุกภาคฝ่ายใน สังคม
วิศวกรเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความคิดและแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา จากหลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรได้พัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้สร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่ก่อประโยชน์ให้กับมนุษยชาติอย่างมหาศาล วิศวกรโยธาใช้กฎพื้นฐานทางกลศาสตร์ในการออกแบบโครงสร้างของอาคารที่รองรับลม พายุและแผ่นดินไหว วิศวกรเคมีใช้ความรู้ด้านการเกิดปฏิกิริยาเพื่อออกแบบขั้นตอนและสภาวะที่ เหมาะสมในการผลิตวัตถุดิบมากมายให้กับอุตสาหกรรม วิศวกรวัสดุออกแบบวัสดุแบบใหม่ที่แข็งแรงและมีน้ำหนักเบา วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารออกแบบระบบเสารับส่งสัญญาณทำให้สามารถส่งรับสัญญาณได้ไกล ขึ้นแต่ยังคงความชัดเจนอยู่
นอกจากนี้งานในปัจจุบันบางชนิดยังต้องการความรู้จากหลายสาขา เช่นการพัฒนาหุ่นยนต์ ที่ต้องใช้ความรู้ด้านการควบคุมจากวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องยนต์กลไกจากวิศวกรรมเครื่องกล และการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความชาญฉลาดจากวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
อาชีพวิศวกรเหมาะกับคุณหรือไม่?

งานด้านวิศวกรรมเหมาะกับผู้ที่มีลักษณะและความสนใจดังนี้
ชอบคิดและวิเคราะห์ สามารถกล่าวได้โดยไม่ผิดพลาดนักว่าปัญหาหลักทางด้านวิศวกรรมคือการออกแบบ อะไรบางอย่างภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ ปัญหาเหล่านี้มักไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าถูกหรือผิด หรือในบางครั้งแม้แต่จะระบุว่าอะไรคือคำตอบที่ดีที่สุดก็อาจจะทำไม่ได้ หน้าที่ของวิศวกรคือการตัดสินใจเลือกคำตอบที่เหมาะสมโดยต้องคำนึงถึงข้อดี ข้อเสียและหาจุดที่ลงตัวที่สุด การตัดสินใจทั้งหมดนี้ต้องทำภายใต้หลักการหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นคุณสมบัติที่สำคัญข้อหนึ่งของวิศวกรคือต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถ ในการคิดและวิเคราะห์ปัญหา
ชอบความท้าทาย แทบไม่มีงานเชิงวิศวกรรมใดที่สามารถกางตำราแล้วหาคำตอบที่ต้องการได้เสมอ ดังนั้นในการปฏิบัติงานสิ่งที่วิศวกรจะได้พบก็คือปัญหาที่ต้องการการ ประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาเข้ากับสถานการณ์ที่กำลังพบอยู่และมักจะ มีเงื่อนไขประกอบให้พิจารณามากมาย เช่น กำหนดการที่วางไว้ หรืองบประมาณที่เหลืออยู่ ลักษณะงานแบบนี้เมื่อพิจารณาดูอาจจะไม่ใช่งานแบบสบาย ๆ สักเท่าใด อย่างไรก็ตาม นอกจากความภาคภูมิใจที่วิศวกรได้รับหลังจากที่แก้ปัญหาลุล่วงไปแล้ว คุณประโยชน์จากผลงานที่วิศวกรทำไว้นั้นมักคุ้มค่ากับกำลังกายกำลังสมองที่ ใช้ไปเสมอ
มีความรับผิดชอบ วิศวกรเป็นอาชีพที่มีเกียรติเพราะนอกจากจะสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวมแล้ว ยังต้องมีความรอบคอบเพราะว่าความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดความเสีย หายใหญ่หลวงได้ บุคคลที่จะได้รับชื่อว่าเป็นวิศวกรได้นั้นจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ สูง มีความหนักแน่นไม่เอนเอียงเข้าหาผลประโยชน์เล็กน้อยมากกว่าความสำเร็จที่แท้ จริงของงาน













ที่มา :http://technologypetroleum.blogspot.com/2010/10/blog-post_8724.html
:http://www.tvburabha.com/