วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ลวดสาม ลวดสี่ – ลวดผูกเหล็ก (BLACK IRON WIRE) ภาษาทางช่าง


ก่อนอื่นต้องสวัสดีพี่ๆ น้องๆ ชาววิศวกรรมโยธาทุกคน ต้องขอเกริ่นนำครับ ตอนสมัยที่ผู้เขียนจบการศึกษาใหม่ๆ ครับ ได้ควบคุมงานโครงการก่อสร้างหลังหนึ่ง ทางวิศวกรโครงการก็มอบหมายให้งานก่อสร้างให้โชว์ผลงานทั้งหลังว่างั้นเหอะ!! เริ่มตั้งแต่งานเสาเข็มถึงโครงหลังคาครับ รับผิดชอบสั่งงาน วางผังงานสำรวจ ทำ Shop Drawing ทำราคา สั่งวัสดุ ควบคุมงานเองทั้งหมดครับ สมัยเรียนก็เป็นที่ทราบดีครับ “ทฤษฏีปึกปฎิบัติแป๊ก” ครับ ต้องขอบอกก่อนครับ “ง.งู มาก่อน ฉ.ฉิ่ง เสมอ” เรื่องมีอยู่ว่า ก่อนผูกเหล็กเส้นต่างๆ ของงานโครงสร้างครับ ปกติผู้ควบคุมงานเอง หรือผู้รับเหมา ต้องตัดลวดผูกเหล็กเพื่อไปมัดเหล็กโครงสร้างให้ประสานกัน ทางผู้เขียนก็ให้ช่างไปตัดมา ลวดผูกเหล็กหนึ่งหมัดกลมๆ นั้นแหละครับ ไปผ่ามาเป็นสี่ส่วนเท่าๆ กันครับ ก็ได้มาให้คนงานผูกเหล็กทำงาน แต่ก็ไม่เป็นผลครับ เนื่องจากผ่าลวดมาสี่ส่วนนั้น ก็มัดผูกเหล็กมาไม่รัดรอบกับเหล็กเส้น เนื่องจากเป็นเหล็กเส้นค่อนข้างใหญ่ครับ ข้ออ้อย DB 25 มม. และ DB 28 มม.




      ช่างที่ไปตัดมาบอกว่า “ทำไมนายช่างไม่ตัดลวดสามครับ…” คำถามนี้ นายช่าง (ผู้เขียนครับ) ยังงงเลย ?? ส่วนนายช่างคนอื่นท่านคงทราบ แหละครับ ถ้าเคยผ่านประสบการณ์มา ผู้เขียนก็ถามว่า ลวดสามคืออะไรครับช่าง … ช่างก็บอกว่า “ลวดสาม ก็ตัดแบ่งมาสามส่วนเท่าๆ กัน ลวดสี่ก็ตัดแบ่งมาสี่ส่วนเท่าๆ กันครับ !! นายช่าง” บัดนั้นมาผมต้องยกย่องช่างที่มีประสบการณ์มาหลายสนามงานก่อสร้างครับ ที่คลายความโง่ให้ผม…ขอบคุณมากๆ ครับ “ช่างเปี๊ยก”



บทความโดย ::
นายเกียรติศักดิ์ สุขยา E-mail: skiatisak@gmail.com
โทร.081-643 8356 เขียน 25. 07. 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น