วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ทับหลัง (เสาเอ็น)





สวัสดีครับพี่ๆ น้องๆ ชาววิศวกรรมโยธาทุกๆ คนครับ ก็เหมือนเดิมครับ พบกันอีกแล้วครับท่าน มีเรื่องมาเล่าให้ฟังครับ มีคำชื่อว่า “ทับหลังเสาเอ็น” ไม่ใช่ “ทับหลังนารายณ์บรรทม” ที่คนอเมริกาบางคนเอาไปเก็บไว้ ต้องให้ “แอ๊ด คาราบาว” ร้องเพลงทวงคืนกลับมาน่ะครับ แต่ถ้าผู้รับเหมาหรือผู้ควบคุมงานที่ลืมทำน่ะครับ ก็ต้องให้ “นายช่างวิศวกร” ทวงคืนกลับมาทันทีแน่นอนเช่นกัน คงยอมให้ไม่ได้เด็ดขาดครับ ทับหลังเสาเอ็นนั้นมีความสำคัญขนาดไหนน่ะถึงยอมให้ไม่ได้!!! มาดูกันเลยครับ
คำว่า “ทับหลังเสาเอ็น” เป็นภาษาทางช่าง หมายถึง เสาหรือคานเล็กๆ ที่อยู่บนผนังอิฐมอญ คอนกรีตบล๊อค หรืออยู่ด้านข้างและบนประตูหน้าต่างนั่นเองครับ ส่วนการเรียกชื่อเสาเอ็นทับหลัง นี้ผมคงเกิดไม่ทันเช่นกัน และไม่ทราบแน่ชัดครับว่า “นายช่างคนไทยสมัยโบราณ” บัญญัติไว้เช่นกันครับ ต้องขอยกย่องนายช่างคนไทยสมัยโบราณต่อไป มาเข้าเรื่องกันเลยครับ เป้าประสงค์ของทับหลังเสาเอ็นนั้น “มีไว้เพื่อช่วยถ่ายแรงและน้ำหนักจากผนังอิฐมอญ คอนกรีตบล็อก ฯลฯ และช่วยยึดโยงไม่ให้วงกบประตูหน้าต่างในขณะที่มีฟ้าฝนหรือลมพายุแรงๆ ไม่ให้เกิดการสั่นคลอนของวงกบได้นั่นเอง” เห็นไหมครับ พอได้ทราบเป้าประสงค์แล้วยิ่งเห็นความสำคัญทันทีเลยน่ะซิ … ส่วนผู้รับเหมารายใด หากลืมการคิดราคางานทับหลังเสาเอ็นเข้าไปด้วยแล้ว เป็นต้องนอนไม่หลับแน่ๆ ล่ะครับ งานเข้าเลย!!! (ภรรยาไม่ให้เข้าบ้าน) ส่วนเจ้าของงานถ้าตรวจสอบพบเจอ ก็ต้องบอก หรือแนะนำให้ผู้รับเหมาลงมือทำไปด้วยเลย จะได้ไม่ปวดหัวปวดกบาลในภายหลังน่ะครับ!!!
รูปที่ 1 แสดงเหล็กเสริม เสาเอ็นทับหลัง (แนวนอน)
รูปที่ 2 แสดงเสาเอ็นทับหลัง
รูปที่ 3 แสดงเสาเอ็นทับหลัง (แนวตั้ง)
บทความโดย ::
นายเกียรติศักดิ์ สุขยา E-mail: skiatisak@gmail.com
เรียบเรียง : 21. 11. 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น