วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ตัวอย่างการออกแบบบันไดคอนกรีตเสริมเหล็กแบบท้องเรียบ (REINFORCED CONCRETE STAIR DESIGN)


ตัวอย่างการออกแบบบันไดคอนกรีตเสริมเหล็กแบบท้องเรียบ (Reinforced Concrete Stair Design) ซึ่งเป็นรูปแบบบันไดที่เราสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป เนื่องจากบันไดแบบท้องเรียบสามารถออกแบบและทำการก่อสร้างได้ง่าย ไม่มีกระบวนการซับซ้อนมากนัก จะมียุ่งยากก็เฉพาะขั้นตอนการกำหนดขนาดของลูกตั้งและลูกนอน โดยในตัวอย่างนี้จะเป็นบันไดคอนกรีตเสริมเหล็กแบบท้องเรียบที่วางพาดบนคานที่รองรับทั้งสองด้าน ในขั้นตอนการวิเคราะห์โครงสร้างของบันไดรูปแบบนี้จะทำการวิเคราะห์เหมือนกับคานช่วงเดียวอย่างง่ายนั่นเองดังตัวอย่างต่อไปนี้
จากแบบแปลนบันไดด้านล่าง บันไดมีความกว้าง 1.00 m. ความยาว (L) 2.74 m. ความสูง 1.45 m. และชานพักกว้าง 1.2 m. เราจะทำการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กของบันไดตัวนี้โดยมีค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นต่อการออกแบบดังต่อไปนี้
  • น้ำหนักบรรทุกจร 300 kg/m2
  • กำลังอัดประลัยของคอนกรีต fc’ = 170 ksc.
  • หน่วยแรงอัดที่ยอมให้ fc = 0.375fc’ = 64 ksc.
  • หน่วยแรงดึงประลัยของเหล็กเสริมหลัก fy = 3000 ksc.
  • หน่วยแรงดึงที่ยอมให้ของเหล็กเสริมหลัก fs = 0.5fy = 1500 ksc.

จากแปลนของบันไดเราจะสามารถแบ่งขนาดของลูกตั้งและลูกนอนได้ดังนี้
  • ลูกตั้ง = 0.181 m.
  • ลูกนอน = 0.22 m.
ประมาณความหนาของบันไดจาก D = L/20 = 2.74/20 = 0.137 m. → 0.15 m.
ระยะคอนกรีตหุ้มเหล็ก = 2.50 cm.
  • ความหนาประสิมธิผล (d) = 15.00 – 2.50 = 12.50 cm.
คำนวณน้ำหนักบรรทุกจรและน้ำหนักบรรทุกคงที่ของบันได (w) จะได้
  • น้ำหนักบรรทุกคงที่ = (0.15 x 2400 x 1 x 1)+(4 x 0.5 x 0.22 x 0.181 x 4200 x 1) = 551 kg/m2
  • น้ำหนักกระเบื้องรวมปูนทรายปรับระดับ 5 cm. = 0.05 x 2400 x 1 x 1 = 120 kg/m2
  • น้ำหนักบรรทุกจร = 300 kg/m2
  • w = 551 + 120 + 300 = 971 kg/m2
คำนวณค่าโมเมนต์ดัด (คานช่วงเดียว) M = wL2/8 = 911 kg.m.
ทำการคำนวณค่า n, k, j และ R จะได้
  • n = 10
  • k = 0.30
  • j = 0.90
  • R = 8.64 ksc.
ตรวจสอบความหนาประสิทธิผล
  • d = √(M/Rb) = √ ((911 x 100)/(8.64 x 100)) = 10.27 cm. < 12.50 cm. O.K.
คำนวณปริมาณเหล็กเสริมหลัก1
  • As = M/(fs.j.d) = (911 x 100)/(1500 x 0.90 x 12.50) = 5.40 cm2
  • เลือกใช้ DB 12 mm. @ 25 cm. จะได้ As = 5.85 cm2 > 5.40 cm2 O.K.
คำนวณปริมาณเหล็กเสริมกันร้าว2
  • Ast = 0.0025bD = 0.0025 x 100 x 15 = 3.75 cm2
  • เลือกใช้ RB 9 mm. @ 20 cm. จะได้ As = 3.82 cm2 > 3.75 cm2 O.K.
หมายเหตุ
  1. เหล็กเสริมตามยาว
  2. เหล็กเสริมตามขวาง
  3. จมูกบันไดใช้ RB 9 mm. เสริมทุกมุม
ทีมา :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น