วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

เหล็กเต็ม (เหล็กโรงใหญ่) และเหล็กไม่เต็ม (เหล็กโรงเล็ก)






สวัสดีครับพี่ๆ น้องๆ ชาววิศวกรรมโยธาทุกๆ คน และสำหรับผู้สนใจด้านงานช่างทั่วไปครับ พบกันเช่นเดิมครับ มีเรื่องมาเล่าสู่กันฟังครับ วันนี้ มีชื่อคำว่า “เหล็กเต็ม (โรงใหญ่) และเหล็กไม่เต็ม (โรงเล็ก) หรือเหล็กเบา” ครับ เต็มเพราะอะไร ไม่เต็มเพราะอะไร หรืออย่างไร ชักจะงงๆ แต่มาคราวนี้อาจจะมีวิชาการมากนิดหน่อยน่ะครับ …มาเลยครับ!!!
คำว่า “เหล็กเต็ม” นั้นหมายถึง เหล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักของเหล็กได้ตามมาตรฐานสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และ “เหล็กไม่เต็ม” หมายถึง เหล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักของเหล็กไม่ได้ตามมาตรฐาน (วสท.) กำหนดไว้ ผมจะยกตัวอย่างของเหล็กในตารางข้างล่างนี้เป็นมาตรฐานของ (วสท.) น่ะครับ และ “เทคนิคการคำนวณเหล็กเส้น” โดยที่ไม่ต้องท่องให้ปวดหัว ปวดกบาลเปล่าๆ ครับ มาดูกันเลยครับ



ตารางที่ 1 แสดงน้ำหนักเหล็กเส้น
เทคนิคการคิด “น้ำหนักเหล็กเส้น”
การคิดคำนวณน้ำหนักของเหล็กทั้งหมดนี้ก็จะมีตัวละครไม่กี่ตัวเท่านั้นเอง เพียงรู้ข้อมูลตัวละคร ก็รู้ค่าน้ำหนักเหล็กได้หมดแล้ว น่ะครับ “มาดูเจ้าตัวละคร” กันเลยดีกว่าครับ…
  • A = พื้นที่หน้าตัดเหล็ก มีหน่วยเป็นเซนติเมตร (cm2) แต่เราก็จะแปลงให้เป็นหน่วยเท่ากับตารางเมตร (m2)
  • D = เส้นผ่าศูนย์กลางเหล็ก มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (mm) แต่เราก็จะแปลงให้เป็นหน่วยเท่ากับเมตร (m)
  • L = ความยาวของเหล็ก มีหน่วยเป็นเมตร (m) หรือ เราจะคิดต่อ 1 เมตร (m) ก่อนนั่นเอง
  • Spst. = ความถ่วงจำเพาะของเหล็ก เป็นค่าคงที่ เท่ากับ 7,850 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3)
พอรู้ค่าตัวละครรายการที่ 1 ถึงรายการที่ 4 แล้วก็มาทำรายการคำนวณกัน ผมจะให้ D มีค่าเป็น 1 หน่วย
ก่อนครับ



รูปที่ 1 แสดงการคำนวณน้ำหนักของเหล็กเส้น
ตัวอย่างเช่น น้ำหนักของเหล็กเส้น DB 12 mm และ RB 12 mm จะเหมือนค่าประมาณใกล้เคียงกับตารางที่ 1 ด้านบนครับ!!! ส่วนเหล็กเส้นอื่นๆ ก็ประยุกต์ได้เหมือนกัน ลองทำดูแล้วกันครับ และ จะสังเกตุเห็นว่าค่าน้ำหนักของเหล็กเส้นกลมหรือเหล็กข้ออ้อย SD – 30 หรือ SD – 40 ที่มีขนาดเท่ากัน น้ำหนักจะเท่ากันเสมอครับ…ขอบคุณครับ
หมายเหตุ :
เหล็กเส้นกลม (RB = Round Bar ) และ เหล็กเส้นข้ออ้อย ( DB = Deformed Bar )
  • SD – 30 หมายถึง กำลังจุดคลากของเหล็ก 3,000 kg/cm2
  • SD – 40 หมายถึง กำลังจุดคลากของเหล็ก 4,000 kg/cm2


บทความโดย ::
นายเกียรติศักดิ์ สุขยา E-mail: skiatisak@gmail.com
เรียบเรียง : 21. 11. 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น