ต้องสวัสดีพี่ๆน้องๆชาววิศวกรรมโยธาทุกๆ คนครับ ก็เช่นเหมือนเดิมครับ พบกันเช่นเดิมครับอีกแล้วครับ มีเรื่องมาเล่าให้ฟังครับ อาจจะมีวิชาการนิดหนึ่งน่ะครับ ตามที่พี่ๆ น้องๆ ควบคุมงานโครงการก่อสร้างทั่วไป ก็จะเห็นลูกปูนเล็กๆ กลมๆ หรือบางที่ ผู้รับเหมาก็จะทำเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ขึ้นมา ส่วน “ความหนาของลูกปูน” ก็อยู่ที่งานของ “โครงสร้างแต่ละประเภท” ครับ ภาษาฝรั่งเรียกว่า “Concrete Covering” จุดประสงค์ของลูกปูนก็เพื่อเป็นระยะหุ้มของคอนกรีตครับ ให้เนื้อคอนกรีตกับเหล็กเสริมมีระยะหุ้มที่เพียงพอ ให้คอนกรีตมีการรับกำลังอัดตามที่วิศวกรโครงสร้างได้ออกแบบเอาไว้และไม่ให้เหล็กเสริมได้สัมผัสกับเนื้อผิวอากาศหรือน้ำที่ขังอยู่รอบโครงสร้างนั้นๆ โดยตรง ที่จะทำให้มีผลกระทบต่อโครงสร้างนั้นๆ มีอายุโครงสร้างการใช้งานที่สั้นเร็วลง และทางสภาวิศวกรรมของแต่ละประเทศก็มีข้อกำหนดเฉพาะแต่ประเทศนั้นๆ ส่วนของเราก็เอาแค่ภายในประเทศไทยของเราก็พอ เป็นต้น!!! มาดูระยะหุ้มคอนกรีตเหล็กเสริม ข้อกำหนดของทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) สำหรับงานเสาเข็ม ฐานราก คาน เสา เป็นไปตามตารางที่1 และตามกฎกระทรวงควบคุมอาคาร ฉบับที่ 60 พ.ศ. 254 ตารางที่ 2 ด้านล่างครับ
ที่มา : ตารางที่ 1 ตามมาตรฐาน วสท. 1007 – 34
ที่มา : ตารางที่2 ตามกฎกระทรวงควบคุมอาคาร ฉบับที่ 60 พ.ศ. 2549
รูปที่ 1 แสดงรูปลูกปูน สำหรับระยะหุ้มคอนกรีต 3 ซม.
รูปที่ 2 แสดงรูปลูกปูน สำหรับระยะหุ้มคอนกรีต 7.5 ซม.
บทความโดย ::
นายเกียรติศักดิ์ สุขยา E-mail: skiatisak@gmail.com
เรียบเรียง : 21. 11. 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น